วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชิ้นงานพิเศษที่ 5



ชิ้นงานพิเศษที่ 4


งานพิเศษชิ้นที่ 3


งานพิเศษชิ้นที่ 2

มรดกโลก (World Heritage Site) คืออะไร
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่ มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial)
คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อ เป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
สถิต 

ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
     ลำดับประเทศ / รวม
1.             อิตาลี / 41
2.             สเปน / 40
3.             จีน / 35
4.             เยอรมนี / 32
5.             ฝรั่งเศส / 31
6.             สหราชอาณาจักร / 27
7.             อินเดีย / 27
8.             เม็กซิโก / 27
9.             รัสเซีย / 23
10.      สหรัฐอเมริกา / 20
การแบ่งประเภทของมรดกโลก


 มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมาย ถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมาย ถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
1.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกได้ จะต้องถูกบรรจุอยู่      ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List)   ของศูนย์มรดกโลกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี

2.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องจัดทำเอกสารขอขึ้นทะเบียน  ตามที่กำหนดไว้ใน เอกสาร Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention ข้อ 130 ที่กำหนดรูปแบบไว้ ดังนี้
1.  ระบุขอบเขตของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Identification of the Property) จะต้องระบุขอบเขตให้ชัดเจนระหว่างพื้นที่ที่จะนำเสนอกับพื้นที่เขตกันชน (ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๐๓  ๑๐๗) แผนที่ที่นำเสนอจะต้องแสดงขอบเขตที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน หากเอกสารที่เสนอไปกำหนดขอบเขตไม่ชัดเจนจะถือว่าเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์
2.  รายละเอียดของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Description of the Property) จะ ต้องรวมถึงขอบเขต และภาพรวมของประวัติความเป็นมาและการพัฒนา องค์ประกอบต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ของแหล่งที่จะนำเสนอ จะต้องมีการอธิบายถึงความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของแหล่งนั้นๆ  ข้อมูลที่บรรยายจะต้องกล่าวถึงคุณค่าที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ความโดดเด่นที่เป็นเลิศ  และบูรณภาพ และ/หรือความเป็นของแท้ดั่งเดิมของแหล่งนั้นๆ
3.  เหตุผลข้อเท็จจริงในการขึ้นทะเบียน (Justification for Inscription) จะ ต้องชี้ให้เห็นว่าแหล่งที่จะขอขึ้นทะเบียนนั้นตรงกับหลักเกณฑ์ข้อใดเพราะ เหตุใด รวมทั้งต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแหล่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันที่ อาจได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่ก็ได้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้จะต้องอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญทั้งในระดับชาติ และระดับสากล อธิบายเกี่ยวกับบูรณภาพ และ / หรือ ความเป็นของแท้ดั้งเดิมและแสดงให้เห็นว่าแหล่งที่นำเสนอนั้นตรวจตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในข้อ 78-95 อย่างไร
4.     การคุ้มครอง และการจัดการ  (Protection and management)
·         การคุ้มครอง  :  รวมถึงรายชื่อของมาตรการด้านต่างๆ อาทิ  ข้อบัญญัติ   การควบคุม สัญญา  แผนสถาบันและ /หรือประเพณี ที่ใช้สำหรับคุ้มครองแหล่งนั้นๆ  วิเคราะห์รายละเอียดแนวทางการดำเนินการคุ้มครอง พร้อมทั้งแนบข้อมูลมาตรการด้านต่างๆ  ที่กล่าวมาข้างต้น โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส
·         การจัดการ : จะต้องนำเสนอการจัดการ  หรือ ระบบการจัดการที่เหมาะสมในเอกสารการขอขึ้นทะเบียน  เพื่อ ให้มั่นใจว่าจะมีการนำแผนการจัดการหรือระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพไปใช้ จัดทำสำเนาของแผนการจัดการ หรือ ระบบการจัดการเป็นภาคผนวกของเอกสารที่จะนำเสนอเป็นมรดกโลกจัดทำรายละเอียด การวิเคราะห์ หรือ คำอธิบายของแผนการจัดการหรือเอกสารระบบการจัดการเอกสารที่จะขอขึ้นทะเบียน แหล่งมรดกโลก  ที่ไม่มีเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ หากไม่มีเอกสารอื่นที่ใช้เป็นคู่มือสำหรับการจัดการพื้นที่จนกว่าแผนการจัดการจะแล้วเสร็จ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 115
5.     การติดตามตรวจสอบ (Monitoring) รัฐภาคีจะต้องระบุตัวชี้วัดหลักที่ใช้ในการอนุรักษ์แหล่งนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งนั้นๆ มาตรการการอนุรักษ์แหล่ง   รายงานการตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
6.     เอกสารประกอบการนำเสนอ (Documentation)  นำเสนอเอกสารที่จำเป็นต่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนั้นยังรวมถึงภาพถ่าย สไลด์ บัญชีรูปภาพและภาพถ่าย เนื้อหาของการนำเสนอจะต้องส่งในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิค (Diskette หรือ CD – Rom)
7.     ข้อมูลการติดต่อของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Contact Information of responsible authorities)
8.     ลายเซ็นในนามของรัฐภาคีสมาชิก (Signature on behalf of the State Party)     

มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
แห่งประวัติศาสตร์ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรไทยซึ่งหมายถึงเมืองแม่สุโขทัยมีบริวารรวมคือ เมืองศรีสัชนาลัย  และเมืองกำแพงเพชรดังที่ปรากฎว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลก  ทางวัฒนธรรมนั้นต้องประกอบด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว    มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากล    หรืออาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิตตามโบราณประเพณี  รวมทั้งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ศรีสัชนาลัย  อยู่ในจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน  ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย    มีอายุเก่าแก่กว่า  ๗๐๐  ปี  มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ  พ่อขุนรามคำแหงประทับบนแท่นมนังคศิลา   สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของศรีสัชนาลัยที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดใช้ศิลาแลงเป็นวัตถุก่อสร้าง    ต่อมาใช้อิฐเป็นวัสดุเสริม    ส่วนเครื่องมุงหลังคาทำด้วยไม้มุงกระเบื้องมีทั้งเผาและเคลือบลายสี    เครื่องประดับหลังคาส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเช่นเดียวกัน  ลวดลายประดับเสา  ฝาผนัง  ซุ้มประตู    ซุ้มจระนำ  หน้าบัน  หน้ากาลมักทำด้วยปูนปั้น   เจดีย์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะใหญ่ ๒ แบบ  คือ เจดีย์ทรงลังกา  ทรงกลม  หรือทรงระฆังคว่ำ     และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์   หรือทรงดอกบัวตูม  นอกนั้นก็มีเจดีย์แบบวิมาน  เจดีย์ทรงปราสาท  แต่ไม่มากนัก
เครื่องสังคโลกคือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาสุโขทัย
  ศรีสัชนาลัย   และพิษณุโลก  ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ  งานที่โดดเด่นที่สุด  คือ เครื่องสังคโลกจากเตาศรีสัชนาลัย  ศิลปะลวดลายบนเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยนี้นมีรูปแรกหลากหลาย   ลวดลายร้อยชนิดทั้งประเภทลายเขียนและลายขูด   รวมทั้งสีสันของน้ำเคลือบ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานนอกเมืองทิศใต้  เขตเมื่อเชลียง  มีโบราณสถานมากมาย  แบ่งเป็นอาณาเขตดังนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดพระปรางค์)ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิพระร่วง หรือศาลาพระร่วง เป็นที่ประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์
   สถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย ส่วนของโบสถ์  ยังมีสภาพเป็นโบราณสถาน    มีเสาศิลาแลงเรียงรายอยู่บนพื้นฐานยกสูง รอบๆฐานมีแท่งใบเสมาหลงเหลืออยู่ ต่อมาเมื่อ
  ปีพ.ศ.2499 ได้ทำการบูรณะปรับปรุงโบสถ์ให้เป็นที่ทำสังฆกรรมได้และจุดเด่นอีกแห่งคือ    ด้านหลังของโบสถ์นั้น เป็นกำแพงแก้วขนาดใหญ่ล้อมรอบพระปรางค์  วิหารและเจดีย์ราย    คันกำแพงทำด้วยเสาศิลาแลงกลมปักเรียงกัน ทับด้วยแท่นศิลาแลงรูปบัว
หลังเจียดอีกชั้นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นประตูซุ้มยอดปรางค์ ฐานยอดปรางค์มีลายปูนปั้น
พระโพธิสัตว์เป็นรูปนางอัปสร งานประติมากรรมของสถานที่แห่งนี้จึงใกล้เคียงกับ
งานประติมากรรมสมัยบายนของเขมร  มีเสาโคมไฟปักเรียงรายเป็นระยะโดยรอบ
 ด้านในหัวเสาแต่ละต้นมีลวดลายปูนปั้นต่างแบบชนิดกันที่วัดพระปรางค์แห่งนี้จะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย   ขนาดหน้าตักกว้าง  ๖.๒๕  เมตร  ด้านซ้ายพระประธานติดผนังด้านหลังมีพระลีลาปูนปั้นขนาดสูง ๓.๕๐  เมตร   ส่วนด้านขวามีพระยืนปูนปั้นปางประทานอภัย  ยืนในลักษณะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน   เพราะฐานยืนอยู่ลึกลงไป   ๑.๒๐   เมตร  ฐานชุกชีเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาด  ๑๐.๒๐  เมตร คาดว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอีกหลายองค์      สังเกตเห็นได้ว่า   โบสถ์และโบราณสถานในกำแพงแก้วนั้น    บ้างก็มีศิลปะเจดีย์แบบพม่า   เรียกกันว่า  “เจดีย์มุเตา”   ลักษณะเป็นฐาน     เหลี่ยม  เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๑.๙๑ เมตร  เรียงซ้อนด้วยฐานเขียง   เหลี่ยม   อีก ๓ ชั้น    ต่อด้วยฐานเขียงกลม ๑ ชั้น  แล้วเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ขึ้นฐานบัวคว่ำกลมอีก   ชั้น  ต่อด้วยบัวถลา  ๓ชั้น   ขึ้นเรือนธาตุทรงกลมมีซุ้ม ๔  ทิศ  ตอนบนชำรุด
ส่วนของวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งสององค์
   เรียกกันว่า   “พระสองพี่น้อง”แล้วยังมีขนาดย่อมลงมาอีก ๕ องค์      ประตูเมืองศรีสัชนาลัย   มีทั้งสิ้น   ประตู   และช่องขนาดเล็กทางด้านตะวันตกเฉียงใต้อีก   ช่อง   ประตูบางแห่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงมีซุ้มหลังคาและยามเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อย  บางแห่งมีขนาดเล็กพอคนเดินสวนทางกันได้  ไม่มีซุ้มหลังคา     และคนคอยเฝ้าดูแลประจำ  ประตูสำคัญ ๆ  มีชื่อเฉพาะเรียกเช่น ประตูรามณรงค์    ประตูสะพานจันทร์  ฯลฯ    แต่ขนาดเล็กไม่มีชื่อสิ่งที่สำคัญอีกอย่างของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย     คือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา   ประเภทเครื่องชามสังคโลกที่งดงาม    และมีเตาเผาสังคโลกที่เลื่องชื่อในอาณาเขตศรีสัชนาลัยชื่อว่า  “เตาทุเรียง”  เตาเผาสังคโลก เครื่องสังคโลก     เป็นประดิษฐกรรมที่นักโบราณคดี หรือนักสะสมของโบราณชื่นชอบและสนใจเป็นที่สุด     แหล่งประดิษเครื่องสังคโลกมีอยู่หลายแห่งในดินแดนนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
  ปั้นดินเผาบริเวณเกาะน้อย  บ้านป่ายางเมืองศรีสัชนาลัย  เป็นแหล่งผลิตสำคัญในเอเชีย
อาคเนย์  และเพียง ๒–๓แห่งในโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่๒๐–๒๒กลุ่มเตาทุเรียงบ้านป่ายางอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม  ห่างจากตัวเมืองโบราณคดีศรีสัชนาลัยประมาณ  ๕๐๐  เมตร   เป็นกลุ่มเตาเผาสังคโลกประมาณ  ๒๑ เตา  อยู่บนเนินดินทับถมสูง ๒เมตรเตาเผาที่พบเป็น เตาประทุน  มีรูปร่างรีก่อหลังคาโค้งคล้ายประทุนเรือ  เตาชนิด
นี้ให้ความร้อนสูงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใช้สำหรับเผาเครื่องเคลือบ

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชรในอดีตเป็นเมืองที่มีปราการมั่นคงแข็งแรง   เดิมชื่อว่าชากังราว  เป็นเมือง
สำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย
  ศรีสัชนาลัย  พิษณุโลก (สองแคว) พิจิตร(สระหลวง) มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในบริเวณพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง 
ในเนื้อที่ประมาณ๒
,๔๐๗ ไร่  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคือกำแพงเพชร  ฝั่งตะวันตกเป็นเมือง
นครชุม
 ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรจัดเป็นมรดกโลก เพราะมีอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์ศึกษา
วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)
 ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก เมื่อวันที่  ๑๒  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๔ 
ความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
     การปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร   เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่  ๑๔  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๐๗โดยคณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน   จังหวัดกำแพงเพชร   และสุโขทัย โดยมีจอมพลถนอม กิติขจร   นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน   ปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานไว้ ๑๘ แห่ง   ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕จึงได้ดำเนินการพัฒนาโบราณสถานให้เป็นอุทยานประศาสตร์   โดยกำหนดกลุ่มโบราณสถานออกเป็น ๔กลุ่มดังนี้     กลุ่มที่   บริเวณภายในกำแพงเมืองมีเนื้อที่ประมาณ  ๓๐๔  ไร่   มีโบราณสถาน  ๑๔  แห่ง  เช่น  วัดพระแก้ว  วัดพระธาตุ  ฯลฯ       กลุ่มที่   บริเวณอรัญญิกทางด้านทิศเหนือของกำแพงเพชร เนื้อที่ , ๖๑๑    ไร่   มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง เช่น วัดพระนอน   วัดช้างรอบ วัดพระสี่อริยาบถ ฯลฯ     กลุ่มที่   บริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออก  เนื้อที่  ๑๖  ไร่   งาน   มีโบราณสถาน  ๑๕  แห่ง  เช่น วัดกะโลทัย  ฯลฯ       กลุ่มที่   บริเวณทุ่งเศรษฐี   ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง  (เมืองนครชุม)  เนื้อที่ ๓๐   ไร่ มีโบราณสถาน เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ
 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา   อดีตราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนานถึง  ๔๑๗  ปี แสดง ถึงความเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเอเชียอาคเนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานา อารยประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามแต่ร่องรอยซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้น แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพ  และความสามารถอันยิ่ง ใหญ่ของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์บ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองทาง ศิลปวิทยาการทัดเทียมกับมหานครอื่นๆของโลกในยุคเดียวกัน   ความสำคัญของพระนครศรีอยุธยาได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น  เมื่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (UNESCO)  ได้ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
   
แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ดินแดนอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันป เห็นจะไม่มีที่ใดเกินหน้าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นพันๆปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถ   ภูมิปัญญา  อันเป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาวะแวดล้อมของตนได้สืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน      สืบเนื่องจากการที่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี   ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  ลำดับที่  ๓๕๙  เมื่อเดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวจังหวัดอุดรธานีสืบมา
บ้านเชียง คือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาของสังคม  และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าพันธุ์สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีในไทย      ปัจจุบันบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านเขตการปกครองของตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี   ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออกตามทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี- สกลนคร รวมระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร
จุดเด่นของบ้านเชียง
  คือเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่หมู่บ้านนี้  โดยเฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์   ซึ่งมีการจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์    แห่ง ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน
ประวัติของชุมชนบ้านเชียง
      เมื่อราว  พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดสถานการณ์ทางการเมืองใน
ราชอาณาจักรลาวชาวพวนกลุ่มหนึ่งจากแขวงเชียงขวางจึงได้อพยพจากหมู่บ้านเดิน
ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยจากนั้นผู้อพยพหนีภัยกลุ่มนี้ได้เดินทางเคลื่อนย้ายต่อลึกจาก
ฝั่งแม่น้ำโขงเข่ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ป่าเรียกว่า ดงแพง  ชาว พวนกลุ่มนี้พบว่าที่นี่บางส่วนเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน บริเวณรอบๆ ยังเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์      ชาวพวนกลุ่มนี้จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเชียง มาตลอดแต่หลักฐานที่ขุดพบโบราณวัตถุจากพื้นที่เนินแห่ง
นี้ไม่ได้บอกว่า หมู่บ้านนี้มีอายุเพียงแค่  ๓๐  ปี   หรือมากว่านั้น   แต่มันบอกอายุมากกว่าพันปีทีเดียว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ทุ่งใหญ่นเรศวร -  ห้วยขาแข้ง จัดเป็นผืนป่าธรรมชาติทีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   เป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์สัตว์ป่าที่ที่สุด   ปรากฎความหลากหลายทางธรรมชาติ   และสัตว์ป่ามากมาย   กลายเป็นผืนป่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้   รวมพื้นที่ได้ถึง  ,๒๒๒   ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๘๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่   ๓ จังหวัด   คือ อยู่ในอำเภอลานสัก   จังหวัดอุทัยธานี   อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ อำเภออุ้มผาง   จังหวัดตาก       ด้วยสภาพธรรมชาติที่หลากหลายของป่าไม้ทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์      ปรากฎว่ามีสัตว์ป่าจากหลายถิ่นกำเนิดมารวมกันในผืนป่าแห่งนี้    ซึ่งมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์   จนก่อให้เกิดแหล่งพันธุ์ป่าที่สำคัญ   เป็นผลให้องค์การยูเนสโกได้ขึ้นบัญชีทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย
สภาพอากาศอยู่ในระหว่างกึ่งโซนร้อนกับโซนร้อน
   และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลที่ทำให้มีฝน
เกือบตลอดฤดูฝนรวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้
    ซึ่งเป็นที่มาของน้ำฝนส่วนใหญ่ในพื้นที่     ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม   อุณหภูมิทั่วไปไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป   จึงทำให้เกิดความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด   โดยที่ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่  มีเนื้อที่กว้างขวาง  มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร  ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า   สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้   จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์   ได้แก่  ควายป่า  ช้างป่า  วัวแดง  กระทิง  กวาง  เก้ง   หมูป่า  ลิง  ชะนี  ค่าง  หมี  สมเสร็จ  เสือชนิดต่างๆ  นกยูง  ไก่ฟ้า  นกหัวขวาน  และนกชนิดอื่น ๆ  อยู่กระจายทั่วไป
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกชี้
ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาท พระวิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคณะกรรมการมรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
คณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคี คณะกรรมการมรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
เพราะไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้
 โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
คณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดัง กล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา
 ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
โดย
 หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า
 สิ่งที่ยู เนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเองโดยบอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า
 ไทยได้ ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลยเห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมาตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ 3 ปี ก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลาย อย่างในเขตแดนของไทย
นาย สุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิชอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้วย

งานชิ้นพิเศษ 1

รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 ก.ค 2554
 แต่ละพรรคการเมือง ได้จำนวนสส.แบบแบ่งเขตกี่คน แบบบัญชีรายชื่อกี่คน รวมกี่คน
สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

ทั้งนี้ รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ( ณ วันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 11.00 น.) ทั้งหมด 125 คน มีดังนี้

พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 61 คน ได้แก่

1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4.เสนาะ เทียนทอง
5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6.มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.ปลอดประสพ สุรัสวดี
8.จตุพร พรหมพันธุ์
9.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
11.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก
12.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.บัณฑูร สุภัควณิช
14.พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
15.สันติ พร้อมพัฒน์
16.พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน
17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18.วิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.เหวง โตจิราการ
20.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.วัฒนา เมืองสุข
23. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.นิติภูมิ นวรัตน์
25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
26.สุนัย จุลพงศธร
27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.คณวัฒน์ วศินสังวร
29.อัสนี เชิดชัย
30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
31.พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
32.วิรัช รัตนเศรษฐ
33.พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นภินทร ศรีสรรพางค์
35.ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภาภรณ์
37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.สมพล เกยุราพันธุ์
40.นพงศกร อรรณนพพร
41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
43.ธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
45.เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.พายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.รองศาสตราจารย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
51.กานต์ กัลป์ตินันท์
52.ธนิก มาสีพิทักษ์
53.พิชิต ชื่นบาน
54.ก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นิยม วรปัญญา
56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
57.อรรถกร ศิริลัทธยากร
58.เวียง วรเชษฐ์
59.อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.วิเชียร ขาวขำ
61.ประวัฒน์ อุตโมท

พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ได้แก่

1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.ชวน หลีกภัย
3.บัญญัติ บรรทัดฐาน
4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.กรณ์ จาติกวนิช
7. คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช
8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.สุทัศน์ เงินหมื่น
18.องอาจ คล้ามไพบูลย์
19.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.วิฑูรย์ นามบุตร
21.ถวิล ไพรสณฑ์
22. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
24.สุวโรช พะลัง (เสียชีวิต)
25.ดร.ผุสดี ตามไท
26.ปัญญวัฒน์ บุญมี
27.สามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.ภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นิพนธ์ บุญญามณี
31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.โกวิทย์ ธารณา
33.อัศวิน วิภูศิริ
34.ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.เกียรติ สิทธิอมร
36. บุญยอด สุขถิ่นไทย
37.กนก วงษ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.สุกิจ ก้องธรนินทร์
40.ประกอบ จิรกิติ
41.พีรยศ ราฮิมมูลา
42.กษิต ภิรมย์
43.วีระชัย วีระเมธีกุล
44. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.วัชระ เพชรทอง

หมายเหตุ: เนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับที่ 24 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จึงเลื่อนลำดับที่ 45 ขึ้นมาแทน

พรรคภูมิใจไทย ได้ 985,527 คะแนน คิดเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่

1.ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.ชัย ชิดชอบ
3.เรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.ศุภชัย ใจสมุทร

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
2.นายชัยวัฒน์ ไกฤกษ์
3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ชุมพล ศิลปอาชา
2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
3.นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.ยุทธพล อังกินันทน์

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
2.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์

พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

พรรคมหาชน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

1.นางพัชรินทร์ มั่นปาน

และถ้าหากตรวจสอบคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค จะพบว่า

- ภาคเหนือ เลือกพรรค เพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือก พรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%

- ภาคกลาง เลือกพรรค เพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%

- ภาคใต้ เลือกพรรคประชา ธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%

- กรุงเทพมหานคร เลือก พรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%

ขณะที่ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขต จำนวนทั้งหมด 375 คน อย่างไม่เป็นทางการ ( ณ วันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 11.00 น.) ปรากฏว่า

- พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 201 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 49 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 คน ภาคกลาง 41 คน กรุงเทพมหานคร 10 คน ภาคใต้ไม่ได้ ส.ส.

- พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 116 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 คน ภาคกลาง 25 คน กรุงเทพมหานคร 23 คน และภาคใต้ 50 คน

- พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 29 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 คน ภาคกลาง 13 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 15 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 คน ภาคกลาง 11 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 1 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 คน ส่วนภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.

- พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 6 คน มาจากจังหวัดชลบุรีทั้งหมด 6 ที่นั่ง

- พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน จากเขต 3 จังหวัดปัตตานี

รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบ่งเขต (อย่างไม่เป็นทางการ)

กรุงเทพมหานคร

เขต 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางสาวลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 10 นายชื่นชอบ คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 11 นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 13 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 16 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย
เขต 17 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 18 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 19 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 20 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 21 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 22 นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 23 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 24 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 25 นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 26 นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 27 นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 28 พันตำรวจเอกสามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 29 นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 30 นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์
เขต 31 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 32 นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 33 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์

ภาคเหนือ

กำแพงเพชร

เขต 1 นายไผ่ ลิกค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายปรีชา มุสิกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนันต์ ผลอำนวย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายปริญญา ฤกษ์หร่าย พรรคเพื่อไทย

เชียงราย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ทั้งจังหวัด

เขต 1 นายสามารถ แก้วมีชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย
เขต 7 น.ส.ละออง ติยะไพรัช พรรคเพื่อไทย

เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายนพคุณ รัฐไผท พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายสุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายศรีเรศ โกฏิคำลือ พรรคเพื่อไทย

ตาก พรรคประชาธิปัตย์ได้ยกจังหวัด

เขต 1 นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธนิตพล ไชยนันทน์ พรรคประชาธิปัตย์

นครสวรรค์

เขต 1 นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมธรรมชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

น่าน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1นางสิรินทร รามสูต พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ พรรคเพื่อไทย

พะเยา พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 น.ส.อรุณี ชำนาญยา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย

แพร่ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พรรคเพื่อไทย

พิจิตร

เขต1 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายนราพัฒน์ แก้วทอง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา

พิษณุโลก

เขต 1 นายวรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายจุติ ไกรฤกษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายนิยม ช่างพินิจ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายนคร มาฉิม พรรคประชาธิปัตย์

เพชรบูรณ์

เขต 1 นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายจักรัตน์ พั้วช่วย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายยุพราช บัวอินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย

แม่ฮ่องสอน

เขต 1 นายสมบัติ ยะสินธุ์ พรรคประชาธิปัตย์

ลำปาง พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1นายสมโภช สายเทพ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวาสิต พยัคฆบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย

ลำพูน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นายสงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย

สุโขทัย

เขต 1 นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายมนู พุกประเสริฐ พรรคภูมิใจไทย

อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทยได้ยกจังหวัด

เขต 1 นายกนก ลิ้มตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย พรรคเพื่อไทย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
เขต 2 นางวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์
เขต 3 นายคมเดช ไชยศิวามงคล
เขต 4 นายพีระเพชร ศิริกุล
เขต 5 นายนิพนธ์ ศรีธเรศ
เขต 6 นายประเสริฐ บุญเรือง

ขอนแก่น พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ภูมิ สาระผล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจตุพร เจริญเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางมุกดา พงษ์สมบัติ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุชาย ศรีสุรพล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายนวัธ เตาะเจริญสุข พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นางดวงแข อรรณพพร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย พรรคเพื่อไทย

ชัยภูมิ

เขต 1นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายมานะ โลหะวณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5นายเจริญ จรรย์โกมล พรรคเพื่อไทย
เขต 6นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ พรรคเพื่อไทย

นครพนม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางมนพร เจริญศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพจิต ศรีวรขาน พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายชูกัน กุลวงษา พรรคเพื่อไทย

นครราชสีมา

เขต 1 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 2 นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 3 นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 4 นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายพลพรี สุวรรณฉวี พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 10 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 11 นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายประนอม โพธิ์คำ พรรคภูมิใจไทย
เขต 13 นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคภูมิใจไทย

บึงกาฬ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด

เขต 1 นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไตรรงค์ ติธรรม พรรคเพื่อไทย

บุรีรัมย์

เขต 1นายสนอง เทพอักษรณรงค์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พรรคภูมิใจไทย
เขต 3นายโสภณ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4นางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 5นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ พรรคภูมิใจไทย
เขต 6นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายหนูแดง วรรณกางซ้าย พรรคเพื่อไทย
เขต 8นายรุ่งโรจน์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย
เขต 9นายจักรกฤษณ์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย
มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท พรรคเพื่อไทย
มุกดาหาร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญฐิน ประทุมลี พรรคเพื่อไทย
ยโสธร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญแก้ว สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายพีรพันธ์ พาลุสุข พรรคเพื่อไทย
ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉลาด ขามช่วง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนิรมิต สุจารี พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางเอมอร สินธุไพร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายกิตติ สมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายศักดา คงเพชร พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย
เลย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางนันทนา ทิมสวรรณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 4 ส.อ.วันชัย บุษบา พรรคเพื่อไทย
ศรีษะเกษ
เขต 1 นายธเนศ เครือรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายธีระ ไตรสรณกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายปวีณ แซ่จึง พรรคเพื่อไทย
สกลนคร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม เวชกามา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนริศร ทองธิราช พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายพัฒนา สัพโส พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางอนุรักษ์ บุญศล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเสรี สาระนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายเกษม อุประ พรรคเพื่อไทย
สุรินทร์
เขต 1 นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางปิยะดา มุ่งเจริญพร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางคุณากร ปรีชาชนะชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม พรรคเพื่อไทย
เขต 6 จ.ส.ต.ประสิทธ์ ไชยศรีษะ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายชูศักดิ์ แอกทอง พรรคเพื่อไทย
หนองคาย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสมคิด บาลไธสง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางชมภู จันทาทอง พรรคเพื่อไทย
หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไชยา พรหมา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวิชัย สามิตร พรรคเพื่อไทย
อุดรธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายศราวุธ เพชรพนมพร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายอนันต์ ศรีพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายขจิตร ชัยนิคม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทองดี มนิสสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นางเทียบจุฑา ขาวขำ พรรคเพื่อไทย
อุบลราชธานี
เขต 1 นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ศุภชัย ศรีหล้า พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวุฒิพงษ์ นามบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสุพล ฟองงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายพิสิษฐ์ สันตะพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายชูวิทย์ กุ่ย พิทักษ์พรพัลลภ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 น.ส.บุณย์ธิดา สมชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายปัญญา จินตะเวช พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย
เขต 11 นายตุ่น จินตะเวช พรรคชาติไทยพัฒนา
อำนาจเจริญ
เขต 1 นางสมหญิง บัวบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น พรรคประชาธิปัตย์
ภาคกลาง
กาญจนบุรี
เขต 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายประชา โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 1 นายธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์
ฉะเชิงเทรา
เขต 1 นายบุญเลิศ ไพรินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสมชัย อัศวชัยโสภณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายรส มะลิผล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 พลตำรวจโทพิทักษ์ จารุสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์
ชลบุรี
เขต 1 นายสุชาติ ชมกลิ่น พรรคพลังชล
เขต 2 นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ พรรคพลังชล
เขต 3 นายรณเทพ อนุวัฒน์ พรรคพลังชล
เขต 4 นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา พรรคพลังชล
เขต 6 นางสุกุมล คุณปลื้ม พรรคพลังชล
เขต 7 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ พรรคพลังชล
เขต 8 พลเรือเอกสุรพล จันทน์แดง พรรคเพื่อไทย

ชัยนาท พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางพรทิวา นาคาศัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางนันทนา สงฆ์ประชา พรรคภูมิใจไทย
ตราด
เขต 1 นายธีระ สลักเพชร พรรคประชาธิปัตย์
นครนายก
เขต 1 นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร พรรคภูมิใจไทย
นครปฐม
เขต 1 พันโทสินธพ แก้วพิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายรัฐกร เจนกิจณรงค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอนุชา สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
นนทบุรี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายฉลอง เรี่ยวแรง พรรคเพื่อไทย
ปทุมธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสุทิน นพขำ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรพงษ์ อึ่งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช พรรคประชาธิปัตย์
ปราจีนบุรี
เขต 1 นายอำนาจ วิลาวัลย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย
พระนครศรีอยุธยา
เขต 1 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายพ้อง ชีวานันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา บุรณศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายองอาจ วชิรพงศ์ พรรคเพื่อไทย
เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอรรถพร พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายกัมพล สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอภิชาต สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์
ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสาธิต ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายบัญญัติ เจตนจันทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธารา ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายวิชัย ล้ำสุทธิ พรรค ประชาธิปัตย์
ราชบุรี
เขต 1 นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นางปารีณา ไกรคุปต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร พรรคภูมิใจไทย
เขต 5 นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา พรรคภูมิใจไทย
ลพบุรี
เขต 1 นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นายอำนวย คลังผา พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ พรรคภูมิใจไทย
สมุทรปราการ
เขต 1 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอนุสรา ยังตรง พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวรชัย เหมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัศ พรรคภูมิใจไทย
เขต 7 นายประชา ประสพดี พรรคเพื่อไทย

สมุทรสงคราม
เขต 1 นางสาวรังสิมา รอดรัศมี พรรคประชาธิปัตย์
สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายครรชิต ทับสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนิติรัฐ สุนทรวร พรรคประชาธิปัตย์
สระแก้ว พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายฐานิสร์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวตรีนุช เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
สระบุรี
เขต 1 นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอรรถพล วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายองอาจ วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย
สิงห์บุรี
เขต 1 นายสุรสาล ผาสุขทวี พรรคเพื่อไทย
สุพรรณบุรี
เขต 1 นายสรชัด สุจิตต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายนพดล มาตรศรี พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวพัชรี โพธสุธน พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 5 นายสหรัฐ กุลศรี พรรคเพื่อไทย
อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
อุทัยธานี
เขต 1 นายกุลเดช พัวพัฒนกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ พรรคชาติไทยพัฒนา

ภาคใต้
กระบี่
เขต 1 นายสาคร เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุชีน เอ่งฉ้วน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล พรรคประชาธิปัตย์
ชุมพร
เขต 1 นายชุมพล จุลใส พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสราวุธ อ่อนละมัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
ตรัง
เขต 1 นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล พรรคประชาธิปัตย์
นครศรีธรรมราช
เขต 1 นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิทยา แก้วภราดัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอภิชาต การิกาญจน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประกอบ รัตนพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายเทพไท เสนพงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์
นราธิวาส
เขต 1 นายกูอาเซ็ม กูจินามิง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายรำรี มามะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเจะอามิง โตะตาหยง พรรคประชาธิปัตย์

ปัตตานี
เขต 1 นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนุมัติ ซูสารอ พรรคมาตุภูมิ
เขต 4 นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคภูมิใจไทย

พังงา
เขต 1 นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์
พัทลุง
เขต 1 นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนริศ ขำนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
ภูเก็ต
เขต 1 นางอัญชลี เทพบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเรวัต อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์
ยะลา
เขต 1 นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอับดุลการิม เด็งระกีนา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายณรงค์ ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์
ระนอง
เขต 1 นายวิรัช ร่มเย็น พรรคประชาธิปัตย์
สงขลา
เขต 1 นายเจือ ราชสีห์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประพร เอกอุรุ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายศิริโชค โสภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ พรรคประชาธิปัตย์

สตูล
เขต 1 นายธานินทร์ ใจสมุทร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายฮอซาลี ม่าเหร็ม พรรคประชาธิปัตย์
สุราษฎร์ธานี
เขต 1 นายธานี เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นางโสภา กาญจนะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเชน เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายสินิตย์ เลิศไกร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ พรรคประชาธิปัตย์