วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษชิ้นที่ 2

มรดกโลก (World Heritage Site) คืออะไร
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่ มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial)
คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อ เป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
สถิต 

ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
     ลำดับประเทศ / รวม
1.             อิตาลี / 41
2.             สเปน / 40
3.             จีน / 35
4.             เยอรมนี / 32
5.             ฝรั่งเศส / 31
6.             สหราชอาณาจักร / 27
7.             อินเดีย / 27
8.             เม็กซิโก / 27
9.             รัสเซีย / 23
10.      สหรัฐอเมริกา / 20
การแบ่งประเภทของมรดกโลก


 มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
               มรดกทางวัฒนธรรม หมาย ถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
               มรดกทางธรรมชาติ หมาย ถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
1.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกได้ จะต้องถูกบรรจุอยู่      ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List)   ของศูนย์มรดกโลกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี

2.     แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ  ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจะต้องจัดทำเอกสารขอขึ้นทะเบียน  ตามที่กำหนดไว้ใน เอกสาร Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention ข้อ 130 ที่กำหนดรูปแบบไว้ ดังนี้
1.  ระบุขอบเขตของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Identification of the Property) จะต้องระบุขอบเขตให้ชัดเจนระหว่างพื้นที่ที่จะนำเสนอกับพื้นที่เขตกันชน (ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๐๓  ๑๐๗) แผนที่ที่นำเสนอจะต้องแสดงขอบเขตที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน หากเอกสารที่เสนอไปกำหนดขอบเขตไม่ชัดเจนจะถือว่าเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์
2.  รายละเอียดของแหล่งที่จะนำเสนอ  (Description of the Property) จะ ต้องรวมถึงขอบเขต และภาพรวมของประวัติความเป็นมาและการพัฒนา องค์ประกอบต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ของแหล่งที่จะนำเสนอ จะต้องมีการอธิบายถึงความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของแหล่งนั้นๆ  ข้อมูลที่บรรยายจะต้องกล่าวถึงคุณค่าที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ความโดดเด่นที่เป็นเลิศ  และบูรณภาพ และ/หรือความเป็นของแท้ดั่งเดิมของแหล่งนั้นๆ
3.  เหตุผลข้อเท็จจริงในการขึ้นทะเบียน (Justification for Inscription) จะ ต้องชี้ให้เห็นว่าแหล่งที่จะขอขึ้นทะเบียนนั้นตรงกับหลักเกณฑ์ข้อใดเพราะ เหตุใด รวมทั้งต้องทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแหล่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันที่ อาจได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่ก็ได้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้จะต้องอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญทั้งในระดับชาติ และระดับสากล อธิบายเกี่ยวกับบูรณภาพ และ / หรือ ความเป็นของแท้ดั้งเดิมและแสดงให้เห็นว่าแหล่งที่นำเสนอนั้นตรวจตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในข้อ 78-95 อย่างไร
4.     การคุ้มครอง และการจัดการ  (Protection and management)
·         การคุ้มครอง  :  รวมถึงรายชื่อของมาตรการด้านต่างๆ อาทิ  ข้อบัญญัติ   การควบคุม สัญญา  แผนสถาบันและ /หรือประเพณี ที่ใช้สำหรับคุ้มครองแหล่งนั้นๆ  วิเคราะห์รายละเอียดแนวทางการดำเนินการคุ้มครอง พร้อมทั้งแนบข้อมูลมาตรการด้านต่างๆ  ที่กล่าวมาข้างต้น โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส
·         การจัดการ : จะต้องนำเสนอการจัดการ  หรือ ระบบการจัดการที่เหมาะสมในเอกสารการขอขึ้นทะเบียน  เพื่อ ให้มั่นใจว่าจะมีการนำแผนการจัดการหรือระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพไปใช้ จัดทำสำเนาของแผนการจัดการ หรือ ระบบการจัดการเป็นภาคผนวกของเอกสารที่จะนำเสนอเป็นมรดกโลกจัดทำรายละเอียด การวิเคราะห์ หรือ คำอธิบายของแผนการจัดการหรือเอกสารระบบการจัดการเอกสารที่จะขอขึ้นทะเบียน แหล่งมรดกโลก  ที่ไม่มีเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ หากไม่มีเอกสารอื่นที่ใช้เป็นคู่มือสำหรับการจัดการพื้นที่จนกว่าแผนการจัดการจะแล้วเสร็จ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 115
5.     การติดตามตรวจสอบ (Monitoring) รัฐภาคีจะต้องระบุตัวชี้วัดหลักที่ใช้ในการอนุรักษ์แหล่งนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อแหล่งนั้นๆ มาตรการการอนุรักษ์แหล่ง   รายงานการตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
6.     เอกสารประกอบการนำเสนอ (Documentation)  นำเสนอเอกสารที่จำเป็นต่อการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนั้นยังรวมถึงภาพถ่าย สไลด์ บัญชีรูปภาพและภาพถ่าย เนื้อหาของการนำเสนอจะต้องส่งในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิค (Diskette หรือ CD – Rom)
7.     ข้อมูลการติดต่อของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Contact Information of responsible authorities)
8.     ลายเซ็นในนามของรัฐภาคีสมาชิก (Signature on behalf of the State Party)     

มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
แห่งประวัติศาสตร์ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรไทยซึ่งหมายถึงเมืองแม่สุโขทัยมีบริวารรวมคือ เมืองศรีสัชนาลัย  และเมืองกำแพงเพชรดังที่ปรากฎว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลก  ทางวัฒนธรรมนั้นต้องประกอบด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว    มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากล    หรืออาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิตตามโบราณประเพณี  รวมทั้งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ศรีสัชนาลัย  อยู่ในจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน  ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย    มีอายุเก่าแก่กว่า  ๗๐๐  ปี  มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ  พ่อขุนรามคำแหงประทับบนแท่นมนังคศิลา   สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของศรีสัชนาลัยที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดใช้ศิลาแลงเป็นวัตถุก่อสร้าง    ต่อมาใช้อิฐเป็นวัสดุเสริม    ส่วนเครื่องมุงหลังคาทำด้วยไม้มุงกระเบื้องมีทั้งเผาและเคลือบลายสี    เครื่องประดับหลังคาส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเช่นเดียวกัน  ลวดลายประดับเสา  ฝาผนัง  ซุ้มประตู    ซุ้มจระนำ  หน้าบัน  หน้ากาลมักทำด้วยปูนปั้น   เจดีย์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะใหญ่ ๒ แบบ  คือ เจดีย์ทรงลังกา  ทรงกลม  หรือทรงระฆังคว่ำ     และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์   หรือทรงดอกบัวตูม  นอกนั้นก็มีเจดีย์แบบวิมาน  เจดีย์ทรงปราสาท  แต่ไม่มากนัก
เครื่องสังคโลกคือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาสุโขทัย
  ศรีสัชนาลัย   และพิษณุโลก  ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ  งานที่โดดเด่นที่สุด  คือ เครื่องสังคโลกจากเตาศรีสัชนาลัย  ศิลปะลวดลายบนเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยนี้นมีรูปแรกหลากหลาย   ลวดลายร้อยชนิดทั้งประเภทลายเขียนและลายขูด   รวมทั้งสีสันของน้ำเคลือบ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานนอกเมืองทิศใต้  เขตเมื่อเชลียง  มีโบราณสถานมากมาย  แบ่งเป็นอาณาเขตดังนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดพระปรางค์)ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิพระร่วง หรือศาลาพระร่วง เป็นที่ประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์
   สถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย ส่วนของโบสถ์  ยังมีสภาพเป็นโบราณสถาน    มีเสาศิลาแลงเรียงรายอยู่บนพื้นฐานยกสูง รอบๆฐานมีแท่งใบเสมาหลงเหลืออยู่ ต่อมาเมื่อ
  ปีพ.ศ.2499 ได้ทำการบูรณะปรับปรุงโบสถ์ให้เป็นที่ทำสังฆกรรมได้และจุดเด่นอีกแห่งคือ    ด้านหลังของโบสถ์นั้น เป็นกำแพงแก้วขนาดใหญ่ล้อมรอบพระปรางค์  วิหารและเจดีย์ราย    คันกำแพงทำด้วยเสาศิลาแลงกลมปักเรียงกัน ทับด้วยแท่นศิลาแลงรูปบัว
หลังเจียดอีกชั้นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นประตูซุ้มยอดปรางค์ ฐานยอดปรางค์มีลายปูนปั้น
พระโพธิสัตว์เป็นรูปนางอัปสร งานประติมากรรมของสถานที่แห่งนี้จึงใกล้เคียงกับ
งานประติมากรรมสมัยบายนของเขมร  มีเสาโคมไฟปักเรียงรายเป็นระยะโดยรอบ
 ด้านในหัวเสาแต่ละต้นมีลวดลายปูนปั้นต่างแบบชนิดกันที่วัดพระปรางค์แห่งนี้จะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย   ขนาดหน้าตักกว้าง  ๖.๒๕  เมตร  ด้านซ้ายพระประธานติดผนังด้านหลังมีพระลีลาปูนปั้นขนาดสูง ๓.๕๐  เมตร   ส่วนด้านขวามีพระยืนปูนปั้นปางประทานอภัย  ยืนในลักษณะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน   เพราะฐานยืนอยู่ลึกลงไป   ๑.๒๐   เมตร  ฐานชุกชีเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาด  ๑๐.๒๐  เมตร คาดว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอีกหลายองค์      สังเกตเห็นได้ว่า   โบสถ์และโบราณสถานในกำแพงแก้วนั้น    บ้างก็มีศิลปะเจดีย์แบบพม่า   เรียกกันว่า  “เจดีย์มุเตา”   ลักษณะเป็นฐาน     เหลี่ยม  เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๑.๙๑ เมตร  เรียงซ้อนด้วยฐานเขียง   เหลี่ยม   อีก ๓ ชั้น    ต่อด้วยฐานเขียงกลม ๑ ชั้น  แล้วเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ขึ้นฐานบัวคว่ำกลมอีก   ชั้น  ต่อด้วยบัวถลา  ๓ชั้น   ขึ้นเรือนธาตุทรงกลมมีซุ้ม ๔  ทิศ  ตอนบนชำรุด
ส่วนของวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งสององค์
   เรียกกันว่า   “พระสองพี่น้อง”แล้วยังมีขนาดย่อมลงมาอีก ๕ องค์      ประตูเมืองศรีสัชนาลัย   มีทั้งสิ้น   ประตู   และช่องขนาดเล็กทางด้านตะวันตกเฉียงใต้อีก   ช่อง   ประตูบางแห่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงมีซุ้มหลังคาและยามเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อย  บางแห่งมีขนาดเล็กพอคนเดินสวนทางกันได้  ไม่มีซุ้มหลังคา     และคนคอยเฝ้าดูแลประจำ  ประตูสำคัญ ๆ  มีชื่อเฉพาะเรียกเช่น ประตูรามณรงค์    ประตูสะพานจันทร์  ฯลฯ    แต่ขนาดเล็กไม่มีชื่อสิ่งที่สำคัญอีกอย่างของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย     คือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา   ประเภทเครื่องชามสังคโลกที่งดงาม    และมีเตาเผาสังคโลกที่เลื่องชื่อในอาณาเขตศรีสัชนาลัยชื่อว่า  “เตาทุเรียง”  เตาเผาสังคโลก เครื่องสังคโลก     เป็นประดิษฐกรรมที่นักโบราณคดี หรือนักสะสมของโบราณชื่นชอบและสนใจเป็นที่สุด     แหล่งประดิษเครื่องสังคโลกมีอยู่หลายแห่งในดินแดนนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
  ปั้นดินเผาบริเวณเกาะน้อย  บ้านป่ายางเมืองศรีสัชนาลัย  เป็นแหล่งผลิตสำคัญในเอเชีย
อาคเนย์  และเพียง ๒–๓แห่งในโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่๒๐–๒๒กลุ่มเตาทุเรียงบ้านป่ายางอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม  ห่างจากตัวเมืองโบราณคดีศรีสัชนาลัยประมาณ  ๕๐๐  เมตร   เป็นกลุ่มเตาเผาสังคโลกประมาณ  ๒๑ เตา  อยู่บนเนินดินทับถมสูง ๒เมตรเตาเผาที่พบเป็น เตาประทุน  มีรูปร่างรีก่อหลังคาโค้งคล้ายประทุนเรือ  เตาชนิด
นี้ให้ความร้อนสูงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใช้สำหรับเผาเครื่องเคลือบ

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เมืองกำแพงเพชรในอดีตเป็นเมืองที่มีปราการมั่นคงแข็งแรง   เดิมชื่อว่าชากังราว  เป็นเมือง
สำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย
  ศรีสัชนาลัย  พิษณุโลก (สองแคว) พิจิตร(สระหลวง) มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในบริเวณพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง 
ในเนื้อที่ประมาณ๒
,๔๐๗ ไร่  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคือกำแพงเพชร  ฝั่งตะวันตกเป็นเมือง
นครชุม
 ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรจัดเป็นมรดกโลก เพราะมีอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์ศึกษา
วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)
 ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก เมื่อวันที่  ๑๒  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๔ 
ความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
     การปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร   เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่  ๑๔  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๐๗โดยคณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน   จังหวัดกำแพงเพชร   และสุโขทัย โดยมีจอมพลถนอม กิติขจร   นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน   ปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานไว้ ๑๘ แห่ง   ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕จึงได้ดำเนินการพัฒนาโบราณสถานให้เป็นอุทยานประศาสตร์   โดยกำหนดกลุ่มโบราณสถานออกเป็น ๔กลุ่มดังนี้     กลุ่มที่   บริเวณภายในกำแพงเมืองมีเนื้อที่ประมาณ  ๓๐๔  ไร่   มีโบราณสถาน  ๑๔  แห่ง  เช่น  วัดพระแก้ว  วัดพระธาตุ  ฯลฯ       กลุ่มที่   บริเวณอรัญญิกทางด้านทิศเหนือของกำแพงเพชร เนื้อที่ , ๖๑๑    ไร่   มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง เช่น วัดพระนอน   วัดช้างรอบ วัดพระสี่อริยาบถ ฯลฯ     กลุ่มที่   บริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออก  เนื้อที่  ๑๖  ไร่   งาน   มีโบราณสถาน  ๑๕  แห่ง  เช่น วัดกะโลทัย  ฯลฯ       กลุ่มที่   บริเวณทุ่งเศรษฐี   ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง  (เมืองนครชุม)  เนื้อที่ ๓๐   ไร่ มีโบราณสถาน เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ
 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา   อดีตราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนานถึง  ๔๑๗  ปี แสดง ถึงความเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเอเชียอาคเนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานา อารยประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามแต่ร่องรอยซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้น แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพ  และความสามารถอันยิ่ง ใหญ่ของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์บ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองทาง ศิลปวิทยาการทัดเทียมกับมหานครอื่นๆของโลกในยุคเดียวกัน   ความสำคัญของพระนครศรีอยุธยาได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น  เมื่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (UNESCO)  ได้ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
   
แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ดินแดนอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันป เห็นจะไม่มีที่ใดเกินหน้าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นพันๆปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถ   ภูมิปัญญา  อันเป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาวะแวดล้อมของตนได้สืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน      สืบเนื่องจากการที่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี   ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  ลำดับที่  ๓๕๙  เมื่อเดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวจังหวัดอุดรธานีสืบมา
บ้านเชียง คือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาของสังคม  และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าพันธุ์สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีในไทย      ปัจจุบันบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านเขตการปกครองของตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี   ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออกตามทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี- สกลนคร รวมระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร
จุดเด่นของบ้านเชียง
  คือเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่หมู่บ้านนี้  โดยเฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์   ซึ่งมีการจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์    แห่ง ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน
ประวัติของชุมชนบ้านเชียง
      เมื่อราว  พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดสถานการณ์ทางการเมืองใน
ราชอาณาจักรลาวชาวพวนกลุ่มหนึ่งจากแขวงเชียงขวางจึงได้อพยพจากหมู่บ้านเดิน
ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยจากนั้นผู้อพยพหนีภัยกลุ่มนี้ได้เดินทางเคลื่อนย้ายต่อลึกจาก
ฝั่งแม่น้ำโขงเข่ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ป่าเรียกว่า ดงแพง  ชาว พวนกลุ่มนี้พบว่าที่นี่บางส่วนเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน บริเวณรอบๆ ยังเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์      ชาวพวนกลุ่มนี้จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเชียง มาตลอดแต่หลักฐานที่ขุดพบโบราณวัตถุจากพื้นที่เนินแห่ง
นี้ไม่ได้บอกว่า หมู่บ้านนี้มีอายุเพียงแค่  ๓๐  ปี   หรือมากว่านั้น   แต่มันบอกอายุมากกว่าพันปีทีเดียว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ทุ่งใหญ่นเรศวร -  ห้วยขาแข้ง จัดเป็นผืนป่าธรรมชาติทีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   เป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์สัตว์ป่าที่ที่สุด   ปรากฎความหลากหลายทางธรรมชาติ   และสัตว์ป่ามากมาย   กลายเป็นผืนป่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้   รวมพื้นที่ได้ถึง  ,๒๒๒   ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๘๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่   ๓ จังหวัด   คือ อยู่ในอำเภอลานสัก   จังหวัดอุทัยธานี   อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ อำเภออุ้มผาง   จังหวัดตาก       ด้วยสภาพธรรมชาติที่หลากหลายของป่าไม้ทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์      ปรากฎว่ามีสัตว์ป่าจากหลายถิ่นกำเนิดมารวมกันในผืนป่าแห่งนี้    ซึ่งมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์   จนก่อให้เกิดแหล่งพันธุ์ป่าที่สำคัญ   เป็นผลให้องค์การยูเนสโกได้ขึ้นบัญชีทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย
สภาพอากาศอยู่ในระหว่างกึ่งโซนร้อนกับโซนร้อน
   และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลที่ทำให้มีฝน
เกือบตลอดฤดูฝนรวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้
    ซึ่งเป็นที่มาของน้ำฝนส่วนใหญ่ในพื้นที่     ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม   อุณหภูมิทั่วไปไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป   จึงทำให้เกิดความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด   โดยที่ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่  มีเนื้อที่กว้างขวาง  มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร  ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า   สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้   จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์   ได้แก่  ควายป่า  ช้างป่า  วัวแดง  กระทิง  กวาง  เก้ง   หมูป่า  ลิง  ชะนี  ค่าง  หมี  สมเสร็จ  เสือชนิดต่างๆ  นกยูง  ไก่ฟ้า  นกหัวขวาน  และนกชนิดอื่น ๆ  อยู่กระจายทั่วไป
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกชี้
ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาท พระวิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคณะกรรมการมรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
คณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคี คณะกรรมการมรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
เพราะไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้
 โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
คณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดัง กล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา
 ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
โดย
 หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า
 สิ่งที่ยู เนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเองโดยบอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า
 ไทยได้ ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลยเห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมาตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ 3 ปี ก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลาย อย่างในเขตแดนของไทย
นาย สุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิชอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น